วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประเพณีโจลมะม๊วด

ประเพณีโจลมะม๊วด

    ประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมเข้าทรง  (โจลมม็วต)
             
             จากความเชื่อเรื่องผีของชาวสุรินทร์ที่มีมากมายหลายประเภท  ที่มีทั้งผีดีและผีร้าย  เช่น  ผีฟ้า  (เทพหรือเทวดา)  ผีเมือง  (หลักเมือง)  ผีบรรพบุรุษ(ผีปู่ตา)  ผีเจ้าที่เจ้าทาง(พระภูมิ)  ผีในสิ่งของและสัตว์  รวมทั้งผีที่อาศัยอยู่ในร่างคนที่เรียกว่าผีปอบ  (ทโม็ป)  ทำให้คนได้รับผลกระทบจากผีทำร้ายในหลายลักษณะ  ได้แก่ความเจ็บป่วยเรียกว่า  (คมอจเทอ)  ผีเข้า  (คมอจโจล)  หรือผิดผี(ค็อฮคมอจ)  ซึ่งถ้าถูกผีทำให้เจ็บป่วยต้องทำพิธีเซ่นไหว้เรียกว่า  “แซนคมอจ”  โดยใช้อาจารย์เจ้าพิธีกรรมเป็นผู้ช่วยเหลือดำเนินการ  ถ้าผีสิงในร่างก็ต้องใช้อาจารย์ที่มีเวทมนตร์คาถามาขับไล่ผีที่เรียกว่า  “หมอผี”  เป็นต้น  แต่สำหรับพิธีกรรมโจลมม็วตของชาวคแมร  (เขมร)  สุรินทร์  จะไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำเหล่านี้  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพิธีโจลมม็วตคือเรื่องครูกำเนิด  (กรูกำเนิต)  และการรักษาความเจ็บป่วยด้วยพิธีกรรมที่เรียกว่า  “ร่างทรง”  หรือ  “มม็วต”

 ความหมายของมม็วต
                ความหมายของคำว่า  “มม็วต”  มีผู้แปลว่า  “แม่มด”  คือร่างทรงที่เป็นบุคคลที่สามารถอัญเชิญผีฟ้าหรือเทวดารวมทั้งครูกำเนิดที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองรักษาตนเอง  ได้มาเข้าทรงเพื่อเป็นการเลี้ยงอาหารสักการะบูชาครูและซักถามความต้องการที่จะให้ประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องต่อไป  การจัดพิธีกรรม  “โจลมม็วต”  จะจัดปีละ  1  ครั้ง  ในขณะเดียวกันการเป็นร่างทรงของศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวที่ทำให้ร่างทรงมีความศักดิ์สิทธ์ที่จะใช้อำนาจนั้นรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ด้วย  ส่วนใหญ่ผู้ที่ป็นร่างทรงเหล่านี้จะเคยมีอาการไม่เหมือนคนปกติทั่วไป  เช่น  เจ็บป่วยเรื้อรัง  เป็นๆ  หายๆ  รักษาพยาบาลอย่างไรก็ไม่หาย  หรือบางคนมีอาการสับสนทางจิตพูดจาไม่ปกติ  มีความสับสน  วิธีแก้ไขจึงต้องพาไปหา  “ครูโบล”  ที่จะทำหน้าที่ทำนายหาสาเหตุความผิดปกติหรืออาการป่วยไข้  ซึ่งครูโบลก็จะบอกสาเหตุว่ามีผีฟ้าหรือเทพเทวดาต้องการมาอาศัยอยู่ในร่างกายเพื่อให้เป็น  “ร่างทรง”  วิธีรักษาคือต้องทำพิธีจัดแจงเครื่องสักการะบูชาเพื่อต้อนรับอนุญาตให้ใช้ร่างกายของตนเองเป็นร่างทรงได้  และเมื่อผ่านพิธีกรรมครอบครูโดย  “กรูมม็วต”  รุ่นพี่แล้ว  บุคคลนั้นก็จะเป็น “ร่างทรง”  ผลที่ตามมาคือบุคคลนั้นหายจากการป่วยไข้ในที่สุด และบุคคลนี้ก็จะเป็นคนในครอบครัว  “มม็วต”  สำหรับความหมายของคำว่า  “มม็วต”  หากใช้คำแปลว่า  “แม่มด”  ไม่ทราบจะอธิบายที่มารากศัพท์อย่างไร  ร่างทรง  “มม็วต”  ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง  เพราะผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในการสืบสายบรรพบุรุษ  ดังนั้นคำศัพท์ของคำว่า  “มม็วต”  น่าจะมาจากคำสองคำคือ  “มี”  ซึ่งแปลว่า  “แม่”  ที่มักใช้กับสิ่งของที่ใช่ร่วมกันและมีความสำคัญยิ่งใหญ่  เช่น  แม่น้ำ  แม่ทัพ  เป็นต้น  ส่วนคำว่า  “เมื้อต”  แปลว่า  “ปาก”  รวมคำว่า  “มีเมื้อต”  หมายถึงผู้หญิงที่ใช้ปากท่องคาถามีมนตร์พิเศษในการทำนายปัดเป่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้  ต่อมาจึงเพี้ยนคำเป็น  “มม็วต”

พิธีกรรมของร่างทรง
                สำหรับพิธีกรรมโจลมม็วตของร่างทรงจะทำหน้าที่พิธีกรรม  2  ประเภท  คือ การเข้าทรงเพื่อทำนายและรักษาความเจ็บป่วยเรียกว่า  “บ็องบ้อด”  และทำพิธีไหว้ครู  “มม็วต”  ประจำปี
                 โจลมม็วตแบบบ็องบ็อด  คือร่างทรงจะเชิญเทพเทวดาอารักษ์มาเข้าร่างทรงนี้  โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำนายและเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่คนทั่วไป  ซึ่งร่างทรงแต่ละคนจะประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านของตนเองแต่ละแห่งจะกระจัดกระจายตามที่อยู่อาศัย  เพื่อทำพิธีช่วยเหลือชาวบ้านที่เข้ามาพึ่งพาตามความเชื่อในท้องถิ่น  ดังนั้นพิธี  “บ็องบ็อด”  จึงเป็นการอัญเชิญเทพหรือเทวดา  (ตีวดา)  ที่มีฤทธิ์เดชให้เข้ามาอยู่ในร่างทรงเพื่อช่วยรักษาคนป่วยที่เกิดจากถูกผีร้ายกระทำ  คนที่เป็นร่างทรง    “บ็องบ็อด”  นี้จะรักษาความสะอาด  เกลียดคนดื่มสุรา  เมื่อร่างกายจะทำพิธี  “บ็องบ็อด”  ก็จะเลือกดนตรีแล้วแต่ว่าเทพองค์ใดจะโปรดดนตรีชนิดใด  เช่น  ดนตรีกันตรึม
                 พิธีไหว้ครูมม็วต    คือวันโจลมม็วตรวมโดย  “มม็วต”  ครูใหญ่จะเป็นผู้กำหนดวันเพื่อให้  “มม็วต”  ทั้งหลายโดยเฉพาะลูกศิษย์ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ  ที่ทำหน้าที่ทำนายด้วยการเข้าทรงและรักษาความเจ็บป่วยให้แก่ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านนั้น  ต้องเดินทางมาชุมนุมกันทำพิธีบูชา  “เลี้ยงครูมม็วต”  ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา “มม็วต”  ให้จึงเปรียบได้เท่ากับ “พระอุปัชฌาย์”  ดังนั้นชาว “มม็วต”  ทั้งหลายต้องเข้าร่วมกันทำพิธีไหว้ครู  “มม็วต”  ทุกปี  เรียกว่า  “โจลมม็วต”  ดังนั้นพิธีกรรมจะมีการแบ่งผู้เข้าทรงเป็นหลายระดับคือเป็นครูมม็วตและบริวารมม็วตซึ่งมม็วตที่เป็นใหญ่ที่สุดเรียกว่า  “กรูมม็วต”  จะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการเป็นร่างทรงมานาน  มีความรู้ความสามารถในการเข้าทรง  และมีความแม่นยำในการสืบสาเหตุของการเจ็บป่วยรวมทั้งสามารถถ่ายทอดวิชา  “มม็วต”  ให้แก่รุ่นน้องได้  ดังนั้นในการประกอบพิธีกรรมพวก  “มม็วต”  จะมีการแบ่งลำดับอาวุโสเพื่อการเคารพนับถือ  สำหรับคนที่เป็นมม็วตจะมีลักษณะสำคัญคือมีจิตวิทยาในการพูดที่ดี  มีอารมณ์เยือกเย็นและมีไหวพริบเป็นที่ศรัทธาของคนในหมู่บ้าน  สำหรับบริวาร  “มม็วต”  ซึ่งหมายถึง  อ่อนอาวุโสที่อยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ  ที่ต้องมาร่วมพิธีด้วย  ส่วนใหญ่จะมาไหว้ครูกำเนิด  โดยเอา  “จวมกรู”  ของตนมาทำพิธีด้วย  เพื่อเป็นศิริมงคลและความสุขความเจริญ  ในขณะเดียวกันบรรดา  “มม็วต”  ทั้งหลายจะบอกกล่าวญาติพี่น้องของตนเองและเพื่อนบ้านใกล้เคียงให้มาร่วมในพิธีกรรมนี้ด้วย  ซึ่งแต่ละคนสามารถช่วยเหลือด้านสถานที่  เช่น  จัดปะรำพิธี  จัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อช่วยเหลือเจ้าภาพในการทำอาหารเลี้ยงคนที่มาร่วมพิธีจำนวนมากมาย
 องค์ประกอบพิธีกรรมโฉลมม็วต
       สำหรับระยะเวลาการประกอบพิธีกรรมมม็วตจะนิยมกระทำในช่วงเดือน 3 ถึงเดือน 5 (เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน) ของทุกปีเพื่อทำการสักการะบูชา “ครูมม็วต” และมักเลือกวันอังคารและวันพฤหัสบดีถือว่าเป็นวันครูและไม่เล่นในวันขึ้นเเละวันแรม 15 ค่ำซึ่งเป็นวันที่ถือว่าต้องงดเว้นงานบวงสรวงกรฌีผู้ป่วยที่มีอาการหนักสามารถยกเว้นให้ทำได้ ทุกเดือนแต่เว้นวันพระและช่วงวันเข้าพรรษาเพราะถือว่าเทพเทวดาครูกำเนิดก็ต้องเข้าพรรษาจำศีลเช่นเดียวกันแต่กรณีจำเป็นมากก็สามารถทำได้แต่ต้องทำพิธีบอกกล่าวหิ้งบูชาเพื่อขอขมาด้วยในส่วนของสถานที่ประกอบพิธีแล้วแต่จะตกลงกันบางครั้งอาจเป็นบ้านของครูมม็วตหรือบริวารมม็วตคนใดคนหนึ่งโดยมม็วตคนอื่นก็จะนำเงินหรือสิ่งของมาช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งองค์ประกอบพิธีกรรม “มม็วต” ที่สำคัญคือปะรำพิธี และขันข้าวสาร

 ปะรำพิธี
       เจ้าภาพจะดำเนินการสร้างปะรำพิธีซึ่งต้องอยู่นอกบ้านเรือนการสร้างปะรำต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพียงทิศเดียวทิศอื่นห้ามเด็ดขาด โดยใช้เสา 9 ต้นมีความสูงประมาณ 2-5 เมตรและยกพื้นสูงใช้ใบไม้เช่นใบมะพร้าวมุงเป็นหลังคากันแดดกันฝนปะรำส่วนนี้ สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับวางเครื่องบูชา และเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆเช่นบายศรีครูกำเนิดช้างม้าจำลอง ข้าวปลาอาหารฯลฯการสร้างปะรำพิธีจะต้องมีครูมม็วตเป็นผู้ดำเนินการโดยมีการเซ่นไหว้บอกกล่าวขออนุญาตพระแม่ธรณีกำหนดจุดวางเครื่องประกอบพิธีกรรมและทำพิธีซึ่งอุปกรณ์บนปะรำพิธีจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ปะต็วลกระเชอข้าวเปลือกอาวุธและของอื่นๆที่สาคัญมากคือที่ประทับของปลายกรวยเรียกว่า“ปะต็วล”คือภาชนะทรงกรวยสานด้วยไม้ไผ่โดยมีปากกรวยกว้างประมาณ 8-10 นิ้ว ปลายกรวยจะทำด้วยไม้ด้ามยาวไว้สำหรับผูกติดไว้ที่เสากลางปะรำพิธีภายในปะต็วลจะประกอบด้วยกรวยดอกไม้“ขันธ์ 5” หมากพลูเครื่องเซ่นได้แก่อาหารขนมต่างๆเช่นไก่ต้มสุก 1 ตัวขนมนางเล็ดข้าวต้มมัดกล้วยฯลฯและ ขวดเล็กๆใส่น้ำปิดจุกขวด 1 ใบส่วนใต้ปะต็วลจะมีกระเชอใส่ข้าวเปลือกให้เต็มเสมอปากกระเชอบนข้าวเปลือกกรวยดอกไม้ 5 อันเทียน 2 เล่มไข่ไก่ดิบ1ฟองนอกจากนี้ยังมีอาวุธและของสดๆใส่ถาดวางใกล้กระเชอข้าวเปลือกได้แก่มีดด้ามยาวหอกปืนยาวขอช้างฯลฯนำมาใส่พานไว้ รวมทั้งรูปปั้นสัตว์ที่เป็นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า และอุปกรณ์อื่น เช่น เชือกปะกำ
สำหรับฟูกพับเป็นอุปกรณ์ให้ร่างทางนั่งเพื่อเข้าทรงหรือโจลมม็วต จะนิยมใช้ฟูก 3 ท่อน พับ 1 ท่อนให้สูงขึ้นแล้วปูผ้าขาวทับข้างบน มีอุปกรณ์สำคัญที่วางบนฟูก คือ บายศรีปากชาม ซึ่งเป็นบายศรีที่ใช้เพื่อบูชาผีหรือวิญญาณ จำนวน 2 ที่ โดยใช้จานหรือถ้วยสังกะสีเป็นภาชนะสำหรับใส่ขนม ผลไม้ เช่น ข้าวต้มมัด ขนมนางเล็ด นมฝักบัว และกล้วยสุก ฯลฯ จานบายศรีปากชามทั้ง 2 ที่นี้จะนำไปวางข้างซ้ายและข้างขวาของหัวฟูกส่วนการวางเครื่องเซ่นไหว้จะจัดสิ่งของในถาดจำนวน 2 ใบเป็นข้าวปลาอาหารเพื่อให้ผีที่เขาร่างทรงประกอบพิธีโจลมม็วตได้กินของเซ่นไหว้นั้นซึ่งจะกินโดยวิธีสูดดมเท่านั้นโดยถาดที่ 1 ประกอบด้วยข้าวสุก 1 ถ้วยไก่ดิบถอนขนแล้ว 1 ตัวขนมหวาน 2 ถ้วยน้ำ 1 ขันส่วนถาดที่ 2 ประกอบด้วยหัวหมู 1 หัวขา 4 ขาหาง 1 หาง (รวมกันสมมุติว่าเป็นหมู 1 ตัว) กรวย 5 อัน (ขันธ์ 5 ) และเทียนไข 2 เล่ม

 ขันข้าวสาร (ปเต็ล-งกอ)
       สำหรับเครื่องมือของมม็วตในการทำพิธีโจลมม็วตของชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์ที่สำคัญที่สุดคือ “ขันข้าวทรงมะม็วต” คืออุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเข้าทรงโดยใช้ขันน้ำที่นิยมใช้คือขันที่ทำด้วยสำริดหรือขันเงินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8- 10 นิ้วโดยใส่ข้าวสารให้เต็มขันและปักเทียนไว้ร่างทรงมม็วตจะเริ่มทำพิธีโดยจุดเทียนบนข้าวสารและใช้สมาธิเพ่งไปที่เทียนอัญเชิญูวิญญูาณให้เข้าร่างทรงโดยจะทำกริยาคือใช้มือทั้งสองประคองขันไว้และจะค่อยๆหมุนกลับไปมาอย่างช้าๆและจะเพิ่มความเร็วและความแรงตามลำดับเมื่อเทพเทวดาหรือครูกำเนิดเข้าร่างทรงร่างกายจะสั่นเทิ้มจากนั้นก็จะลุกขึ้นเปลี่ยนเสื้อผ้าเปลี่ยนใหม่ตามใจชอบแล้วแต่วิญญาณเทพองค์ใดมาเข้าทรงสำหรับเทพครูมม็วตจะมี 4 เทพได้แก่เทพ “กรุงไหม้” (กร็องแช็ฮ) เทพ “มหาชมพู” (มฮาจมปู) เทพ “กระบองเหล็ก” (ตบองด์) เทพ “ผมกระเซิง” (สำโปงเซาะร์ท็ม) ซึ่งเทพเจ้าที่มาเข้าทรงจะแสดงออกตามความสำคัญและบุคลิกของเทพนั้นๆเช่นถ้าเทพชอบดาบหอกมักถือดาบรำทำทีร่ายรำขับไล่ผีร้ายเป็นต้นจากนั้นก็จะยืนร่ายรำจนพอใจเมื่อวิญญูาณต้องการจะออกจากร่างทรงๆนั้นก็จะนิ่งลงแล้วหันขันข้าวสารอีกจากนั้นจะแสดงฤทธิ์เดชโดยหยิบเทียนในขันที่มีไฟลุกโชนนั้นเข้าไปในปาก อาจอมไฟหรือขบเคี้ยวไฟให้ดับโดยไม่แสดงอาการร้อนจากเปลวเทียนหลังจากนั้นก็จะหยุดนิ่งให้ความเหนื่อยนั้นค่อยๆสงบลงเพื่อให้วิญญาณออกจากร่างทรงเป็นอันเสร็จพิธีโจลมม็มวตสำหรับดนตรีในพิธีกรรมการโจลมม็วตจะนิยมใช้วงปีพาทย์คแมรที่มีเครื่องดนตรีหลัก 5 ชิ้นคือระนาดเอกฆ้องวงปี่กลองทัดเเละตะโพนหรืออาจใช้วงดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นวงดนตรีพื้นเมืองที่มีจังหวะทำนองที่สนุกเร้าใจในการบรรเลงเพื่อให้“ผู้โจลมม็วต” ร่ายรำให้สนุกสนานสบายอกสบายใจโดยเจ้าภาพต้องจัดแต่งเครื่องบูชาไหว้ครูดนตรีด้วย




ขันข้าวสาร (ปเต็ล-งกอ)

  จวมครูกำเนิด (จวมกรูมน็วต)
       มม็วตทุกคนที่มาร่วมพิธีจะต้องนำจวมครูกำเนิดหรือจวมครูมม็วตมาด้วยซึ่ง“ จวม” เป็นที่ประทับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าประจำตัวคนแต่ละคนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมมม็วตเพราะชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์มีความเชื่อว่าทุกคนมีครูกำเนิดที่จะคอยดูแลปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นถือว่ามีสถานภาพเป็นเสมือน“ เทวดาผู้คุมครอง” โดยสิ่งสถิตอยู่ที่ “ศีรษะ” ดังนั้นชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์จะให้ความสำคัญแก่ศีรษะมากเพราะเป็นธรรมเนียมห้ามจับศีรษะผู้อื่นห้ามหยิบของข้ามศรีษะ ห้ามเดินลอดใต้ราวตากผ้าห้ามมุดใต้บันไดห้ามอยู่ใต้ถุนบ้านห้ามยกผ้าถุงขึ้นลอดบนศีรษะห้ามหยิบของข้ามศีรษะฯลฯดังนั้นบุคคลจึงต้องทำพิธีเซ่นไหว้ครูกำเนิตและปฏิบัติตนให้เหมาะสมการคารวะครูกำเนิดสามารถดลบันดาลให้เจ้าตัวมีความสุขสบายหรือได้รับความทุกข์ความเจ็บไข้ที่มีผลต่อสุขภาพถ้าทำผิดครูเช่นนี้มีอาการปวดหัวมีอาการเครียดไม่สบายใจขาดความสุขสดชื่นเป็นต้นโดยเฉพาะบุคคลที่คลอดออกมาแล้วมีสายรุ้งพันศีรษะหรือสายรกพันลำตัวเฉวียงบ่าจะเป็นบุคคลที่มีครูกำเนิดที่มีฤทธานุภาพมากเรียกว่า“ครูสนมสังวาร” หรือบุคคลที่คลอดมามีสายสะดือบิดเป็นเกลียวเรียกเป็นภาษาคแมร (เขมร) สุรินทร์ว่า “ครูปะเจิตรมูล” ก็จะม็ครูกำเนิดที่มีฤทธานุภาพมากที่สุดดังนั้นบุคคลเหล่านี้ต้องบูชาครูกำเนิดเป็นพิเศษกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปและหากคนเหล่านี้เรียนคาถาอาคมต่างๆจะเป็นบุคคลที่เป็น“จอมขมังเวทย์” ถ้ากระทำผิดครูก็จะกลายเป็น“คนบ้า” ไปเลย (มงกุฎแก่นเดียว, 2533 หน้า 5)
        ชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์ทุกคนจึงมีครูกำเนิคที่มีฤทธานุภาพหรือความแรงความขลังมากน้อยต่างกันและต้องทำสัญลักษณ์สำหรับบูชาครูเรียกว่า“จวมบูน” ซึ่ง “จวม” น่าจะตรงกับภาษิตไทยว่า“จอม”หมายถึง“เป็นใหญู่” หรือ “ใหญ่ที่สุด” ดังนั้น “จวมบูน” จึงเป็นสิ่งสักการะบูชาครูกำเนิดซึ่งทุกคนจะต้องทำไว้และตั้งไว้ที่หิ้งบูชาบนหัวนอนสำหรับกราบไหว้บูชาสำหรับวิธีทำ “จวม” นี้จะใช้กะลามะพร้าวขันน้ำหรือจานใส่ข้าวสาร หรือขี้เถ้าแล้วนำใบตาลแห้งมาตัดเป็นรูปใบไม้ทรงสูง ฉลุให้เป็นลวดลายสวยงามมาใส่รอบ ๆ กะลาหรือขันวางรอบสี่ทิศตรงกลางจะใส่ใบพลู หมากสุก 1 ลูก เทียนไข 1 เล่ม สตางค์ 1 บาท และดอกไม้มีด้ายสายสิญจน์พันรอบ ๆ จอมบูนที่มีลักษณะแตกต่างออกไปเรียกว่า “จวมกรูมม็วต” ได้แก่ จวมบูนที่มีทรงแบบสถูปแสดงว่าบุคคลนั้นมีครูพิเศษคือเทวดามาขออยู่ด้วย จวมบูนบางอันมีลักษณะพิเศษยิ่งกว่านั้น คือนอกจากนั้นมีครูพิเศษคือเทวดามาขออยู่ด้วย จวมบูนบางอันมีลักษณะพิเศษยิ่งกว่านั้น คือนอกจากจะเป็นจวมบูนทรงสถูปแล้วก็จะมีฉัตรสีแดงปักไว้เหนือสถูป แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีครูกำเนิดสวมสังวาลย์คือรกพันศรีษะหรือพันลำตัวหรือสายสะดือบิดเป็นเกลียวเมื่อแรกคลอดถือว่า “มีครูกำเนิดแรงมาก” ต้องทำพิธีเคารพครูเป็นพิเศษ ดังนั้น การใช้สัญลักษณ์ทรงสถูปน่าจะเป็นการเลียนแบบของปราสาทหินโบราณที่มีกระจัดกระจายอยู่ในท้องถิ่นโดยเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าสูงสุด วัตถุทรงสถูปจึงเป็นเครื่องหมายของการเคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง
“จวมกรูมม็วต” จึงมีความสำคัญูเกี่ยวข้องกับการโจลมม็วตมากที่สุดเพราะบุคคลที่มาเข้าพิธีคือบุคคลที่มี “ครูกำเนิดแรง” ต้องมาทำพิธีไหว้ครูโดยต้องนำ “จวมกรูมม็วต” จากบ้านมาด้วยและมีอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นกรวย 5 อัน (ขันธ์ 5) หมากพลู 1 คำเงิน 1 บาทเทียน 2 เล่มซึ่งเทียนจะมีหลายลักษณะเช่นเทียนไขธรรมดาเทียนขีผึ้งเทียนบิดเป็นเกลียวเทียนทรงกลมฯลฯแล้วแต่บุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องกับครูกำเนิดแบบใครเช่นกรณีตอนเกิดมีสายสะดือบิดเป็นเกลียวก็ใช้เทียนบิดเป็นเกลียวเป็นต้นทั้งนี้จะนำอะไรมาบ้างหรือเพิ่มเติมมากน้อยเพียงใดครูมม็วตหรือร่างทรงจะเป็นผู้บอกเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีและเชื่อว่าครูมม็วตสามารถทีจะสื่อสารกับครูกำเนิดโดยตรงได้เช่นบุคคลที่มีครูสนมสังวารจะต้องใช้เทียน 3 เล่มและน้ำฉัตรเล็กๆสีแดงมาด้วยดังนั้นผู้ที่จะทำการโจลมม็วตจะต้องนำ “จวมกรู” ของแต่ละคนมาด้วยหรือหากผู้ใดไม่ต้องการเข้าทรงก็นำ “จวมกรู” ของตนมาเข้าพิธีด้วยก็ได้เพื่อให้ผู้เข้าทรงช่วยตรวจสอบชื่นชมตรวจตราความถูกต้องของเครื่องบูชาถ้าผู้เข้าทรงร่ายรำมาดู “จวมกรู”และตำหนิติเตียนว่าสกปรกไม่เข้าใจใส่เจ้าของหรือญูาติพี่น้องก็จะยกมือไหว้ขอขมาและสัญญาว่าจะจัดทำให้ใหม่ขอเชิญครูกำเนิดร่ายรำให้สนุกสนานไปก่อนและขอให้ครูกำเนิดมีความสุขมากๆเพื่อจะให้ร่างของบุคคลนั้นไมป่วยไม่ไข้



   
จวมครูกำเนิด (จวมกรูมม็วต)

  การประกอบพิธีกรรมไหว้ครูมม็วต

       สำหรับขึ้นตอนเวลาประกอบพิธีกรรมโจลมม็วตจะเริ่มตั้งแต่เช้าเวลาประมาณ 07.30 นหรือ 10.00 น.เป็นอย่างช้าส่วนเวลาสิ้นสุดไม่มีการกำหนดแล้วแต่ผีจะเข้าร่างทรงได้ทั้งหมดเวลาใด และจะออกจากร่างทรงเวลาใครอาจจะเสร็จช่วงบ่ายหรือเที่ยงคืนหรือทั้งคืนก็ได้เมื่อเริ่มพิธีกรรมดนตรีเริ่มบรรเลงเพลงไหว้ครู “ครูมม็วตใหญู่” ก็จะทำพิธีเข้าทรงเมื่อครูกำเนิดเข้าทรงแล้วครูมม็วตก็จะถือดาบเดินไปบริเวณตั้ง “เป” ซึ่งเป็นเครื่องเซ่นผีไม่มีญาติหรือผีพรายผีร้ายที่ให้โทษต่างๆโดยร่ายรำเวียนขวา 3 รับเจ้าภาพจะใช้ไฟจุดนุ่นหรือเศษผ้าจนลุกไหม้จากนั้นครูมม็วตกจะใช้ดาบฟันเปเรียกว่า “กาบเป” ซึ่ง “กาบ” แปลว่า “ฟัน” จากนั้น “ครูมม็วต” ก็จะเดินกลับมายังปะรำพิธีเจ้าภาพก็จะนำสิ่งของที่มีอยู่ในเปทิ้งออกไปให้ไกลปะรำพิธีที่แสดงว่าสิ่งชั่วร้ายได้ถูกทำลายแล้ววิธีการก็จะไม่มีอุปสรรค ใดๆเป็นการแสดงว่าได้ไล่ฟันเปรตหรือเสนียดจัญไรทั้งปวงที่จะมาทำลายพิธีโจลมม็วตเรียบร้อยแล้ว
สำหรับจุดมุ่งหมายการทำพิธีโจลมม็วตนั้น นอกจากจะเป็นการทำพิธีเซ่นไหว้ยังครูมม็วตแล้วยังเพื่อเป็นพิธีกรรมรักษาคนป่วยด้วยซึ่งอาจทำใน 2 ลักษณะคือให้ผู้อื่นเข้าทรงให้หรือผู้ป่วยเขาทรงเองกรฌีผู้ป่วยมีอาการไม่มากนักก็นึกจะเข้าทรงด้วยตนเองส่วนผู้ป่วยหนักไม่สามารถทำพิธีเป็นร่างทรงได้ก็จะใช้ร่างทรงอื่นทำพิธีให้ในกรณีผู้ป่วยมีอาการไม่มากผู้ป่วยจะเข้าทรงหรือ “โจลมม็วต” ด้วยตนเองโตยวิญญูาณจะเข้าทรงในร่างผู้ป่วยมีการร่ายรำเหมือนกับออกกำลังกายและจะบอกสาเหตุการเจ็บป่วยตลอดจนคำแนะนำในการแก้ปัญูหายามเจ็บป่วยกับญูาติพี่น้องให้ทราบเพื่อไปประกอบพิธีกรรมหลังจากวิญญาณออกจากร่างทรงของผีป่วยแล้วเช่นการทำครูก็ให้ใปขอขมาหิ้งบูชาหรือทำ “จวมครู”ขึ้นมาใหม่หรือแนะให้ทำบุญกุศลด้วยพิธีกรรมต่างๆเป็นต้นกรณีผู้ป่วยมีอาการป่วยหนักหรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่างทรงก็จะมีผู้ที่ทำการโจลมม็วตแทนโดยผู้เป็นร่างทรงจะทำการร่ายรำและเข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วยเช่นเข้าไปบีบนวดตามร่างกายยกแขนยกเท้าผู้ป่วยให้ขยับเขยื้อนปัดเป่าตามร่างกายใช้น้ำมนต์หรือประแป้งน้ำหอมให้ผู้ป่วยจากนั้นก็จะมีการนำด้ายมาผูกข้อมือผู้ป่วยเพื่อเรียกขวัญภาษาท้องถิ่นเขมรเรียกว่า “เฮาปลึง” คำแปล “เฮา” แปลว่า “เรียก” ส่วน “ปลึง” แปลว่า“ขวัญู” ซึ่งพิธีกรรมนี้เป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวดังเดิมเมื่อทำพิธีเรียกขวัญเสร็จก็จะรับ “ขวัญู” ผู้ป่วยด้วยการให้กินข้าวขวัญหรีอที่เรียกว่า “บายปลึง” ได้แก่ข้าวสวยกับไข่ไก่ต้มน้ำตาลอ้อยน้ำมะพร้าวอ่อนและเนื้อมะพร้าวอ่อนซึ่งวิธีการที่มีผลทางด้านจิตวิทยาถือเป็นการสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยเกิดความอบอุ่นใจที่มีญูาติมิตรรักใคร่หวงใยและเอื้ออาทรทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจมีสุขภาพจิตดีอาการเจ็บป่วยก็จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจอย่างดียิ่ง



การเข้าทรงของครูมม็วต



ครูมม็วตกำลังเลือกเครื่องแต่งกายตามความชอบ


การเข้าทรงของเจ้าทรง




การแสดงท่ารำต่างๆ ของเจ้าทรง

 คณะดนตรี
                จำนวนคนเล่นดนตรี  5-6  คน  เครื่องดนตรีมีกลองกันตรึม  2  ใบ  และขอทำความเข้าใจดังนี้  กลองกันตรึม  เป็นภาษาคแมรเรียกว่า  สะกวร  เรียกเต็มๆ  ว่าสะกวรกันตรึม    เพราะมือตีไปที่กลองมีเสียงกระหึ่ม  ครึมๆ  หรือเสียงตรึมๆ  เป็นต้น เครื่องประกอบจังหวะมี  ฉิ่ง  1  คู่  ฉาบ  1  คู่  สำหรับคนกลองมีหน้าที่ขับร้องและคลอไปด้วย  ถ้าหากเล่นธรรมดาจะเป็นการประหยัด  วงเล็กนิยมใช้คณะดนตรีเพียง  4  คน

เครื่องเซ่นดนตรี


เครื่องดนตรีที่ใช้แสดงในงาน “โจลมม๊วต



เครื่องประกอบการเซ่นไหว้ครูดนตรี

  1.  ผ้าขาว  1  ผืน
  2. สุราขาว  1  ขวดใหญ่
  3. น้ำอัดลม  2  ขวด
  4. เงิน  21  บาท  50  สตางค์
  5. ข้าวสุก  1  จาน  และแกงหรือต้มเนื้อ  1  จาน
  6. ไก่ต้มทั้งตัว  1  ตัว
  7. ธูปและเทียนอย่างล่ะ  2  คู่
  8. กรวย  5  ดอก
  9. หมากพลู  5  คำ  บุหรี่  5  มวน
  10. ข้าวสาร 2  ถ้วย  ใบพลูสด  2  ใบ  ผลหมากสุก  หรือหมากแห้ง  2  ผล  เหรียญสตางค์
แดง  2  อัน  ปัจจุบันใช่เหรียญสลึง  2  อันแทน
  1. ขันน้ำแก้วน้ำอย่างละ  2  ใบ
  2. พาน  ถาด  จาน  อย่างละใบ
  3. เสื่อขนาดใหญ่  1  ผืน
  4. ไม่ขีดไฟ
  5. แป้งหอม  น้ำอบ  น้ำหอม  พอสมควร 

การฟ้อนรำของมม็วตและดนตรี
การฟ้อนรำ

                สำหรับท่าฟ้อนรำนั้นเป็นการฟ้อนรำที่ไม่มีรูปแบบ  โดยการฟ้อนรำตามทำนองเพลงและดนตรีที่บรรเลงมม็วตแต่ละคนต่างก็ร่ายรำไม่เหมือนกัน  โดยมีความเชื่อทางไสยศาสตร์เพื่ออันเชิญวิญญาณมาช่วยปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ  เป็นกรรมวิธีหนึ่งของการบวงสรวงพลีกรรมเพื่อเคารพต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ  กล่าวคือนอกจากจะเพื่อช่วยให้รักษาความเจ็บป่วยแล้วยังเป็นการขอให้ดลบันดาลเพื่อให้เกิดความสุขในครอบครัว  โดยเฉพาะเมื่อวิญญาณได้เข้าทรงร่างกายและได้ร่ายรำที่มีความสนุกสนานรื่นเริงเป็นที่พอใจและก็จะดลบันดาลช่วยเหลือร่างทรงให้หายเจ็บป่วยได้  ซึ่งบางครั้งร่างทรงนั้นไม่เคยร่ายรำหรือรำไม่เป็นแต่เมื่อเข้าไปในพิธีจะถูกวิญญาณเข้าร่างทรงก็สามารถร่ายรำสวยงามตามจังหวะโดยไม่รู้ตัวเป็นที่แปลกใจหรืออัศจรรย์ใจสำหรับคนที่มาร่วมพิธีอย่างมาก  ดังนั้นการร่ายรำที่แสดงท่าทางต่างๆ  จึงเป็นความเชื่อว่าวิญญาณจะเป็นผู้กำหนดและร่ายรำตามความชอบและความถนัดของวิญญาณนั้นๆ  การร่ายรำของร่างทรงจะดำเนินไปจนกว่าจะพอใจและหยุดร่ายรำ  จากนั้นก็จำไปนั่งที่  “ขันทรง” และทำพิธีกรรมเพื่อให้ร่างทรงออกจากร่างไปจึงเป็นการเสร็จพิธี

ท่ารำ
                ท่ารำในการประกอบพิธีกรรมที่นำมาพัฒนาเป็นท่ารำ  ประกอบด้วย
1. หมุนขัน  นำมาจากพิธีกรรมที่แม่ครูและลูกศิษย์จะนำขันข้าวสารเล็กน้อย  หมากพลูและจุดเทียน  เล่ม  ติดที่ขัน  วางไว้ตรงหน้าใช้มือทั้ง  2  มือ  หมุนขันช้าๆ  สักครู่จะเปลี่ยนไปทางซ้ายวนอยู่ตรงหน้าไปเรื่อยๆ จากช้าไปเร็วและมีความรุนแรงจนข้าวสารในขันกระจัดกระจายออกจากขัน  ตัวสั่น  ศรีษะสั่น  อาการเช่นนี้แสดงว่ามีการประทับทรงแล้ว
2. ท่าไหว้  นำมาจากพิธีกรรมตอนที่  ทุกคนจะรำไปรอบๆ  ประมาณ  5  นาทีนั่งพนมมือ  และมีอาการเหมือนตอนที่ครูกำเนิดจะเข้า  เช่น  ชูมือพนมเหนือศรีษะวนรอบเป็นวงตรงหน้าจากบนล่างไปซ้ายขวา  ตัวสั่น
3.ท่าปรบมือ  พิธีกรรมตอนที่แม่หมอเริ่มตัวสั่น  คนอยู่รอบๆ จะช่วยกันปรบมือให้จังหวะเป็นการลุ้นให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้น
4.ท่าจีบม้วนมือ  พิธีกรรมตอนที่ครุออกจากร่างทรงนั้นจะสังเกตได้จากผู้นั้นจะเอามือลูบหน้า  ลืมตามีสติกลับคืนมา  เป็นตัวของตัวเองอีกครั้ง
5.ท่าจีบที่อกแล้ววาดออก  พิธีกรรมตอนที่ผีประทับทรงแล้วเริ่มมีการฟ้อนรำ

ดนตรี
                ทำนองเพลงที่ใช้กำกับในพิธีกรรมโจลมม็วต  ซึ่งมีการใช้ดนตรีกันตรึมคแมรกำกับพิธีนั้น  จะใช้ทำนองหลายเพลงเช่น  เมื่อเริ่มพิธีกรรม  ดนตรีจะใช้เพลง “สาธุการ”  การไหว้ครูเพลงแรกเพื่อบรรเลงถวายครูดนตรี  และความเป็นศิริมงคล จากนั้นดนตรีจะบรรเลงเพลงแห่  ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้กับกริยาอาการแห่แหน  เช่น  แห่เครื่องเซ่นสรวงบูชาหรือจวมครูที่มม็วตแต่ละคนนำมา  เป็นต้น  จากนั้นดนตรีก็จะบรรเลงเพลงต่างๆ  เพื่อให้ร่างทรงรำจนพอใจ  และเมื่อสิ้นสุดพิธีกรรมก็จะบรรเลงเพลงลา  โดยร่างทรงจะนำเครื่องเซ่นบูชาแห่แหนรอบปะรำพิธี  และลาครูบาอาจารย์และอำลาโรงเป็นการเสร็จพิธีกรรม  “โจลมม็วต”  สำหรับสถานที่ประกอบพิธีกรรมต้องทิ้งไว้  3  วัน  จึงรื้อถอนได้ 


การเริ่มเล่นดนตรี


การสืบทอดพิธีกรรมโจลมม็วต

  การสืบทอดพิธีกรรมโจลมม็วต
                ร่างทรงทำหน้าที่เป็น  “มม็วต”  จะเลิกเป็นร่างทรงตลอดไปได้  2   กรณี  ได้แก่

กรณีที่ 1   การเสียชีวิตและการไม่ต้องการเป็นร่างทรงอีกต่อไป
       มีวิธีปฏิบัติที่สำคัญคือ  กรณีเสียชีวิตเมื่อร่างทรงเสียชีวิตญาติพี่น้องจะนำศพไปประกอบพิธีศพตามปกติ  แต่สิ่งที่ยังคงเหลืออยู่หิ้งบูชาที่มีอุปกรณ์เครื่องของขลังต่างๆ  วิธีการปฏิบัติต้องมีลูกหลานหรือญาติพี่น้องรับช่วงต่อ  โดยวิญญาณนั้นจะเลือกลูกหลานหรือญาติพี่น้องคนใดคนหนึ่งเพื่อเป็นทายาทสืบแทน  ซึ่งสามารถจะรู้ได้จากการที่บุคคลนั้นจะมีอาการเจ็บป่วย  หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้น  จากนั้นญาติพี่น้องก็จะไป“คนโบล”  เพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย  “คนโบล”  ก็จะบอกสาเหตุว่ามีวิญญาณอยากจะมาขออยู่ในร่างกายต้องทำ  “พิธีรับ”  จึงจะหายป่วย  ซึ่งผู้ป่วยนั้นจะต้องทำ  “พิธีรับ” และอัญเชิญมาอยู่โดยการจัดหิ้งบูชาและทำพิธี  “โจลมม็วต” เพื่อแสดงความยินดีต้อนรับญาติก็จะนำสิ่งของศักดิ์สิทธิ์จากหิ้งบูชาจากมม็วตคนเดิมมามอบให้  เพื่อเป็นผู้สืบทอดในการประกอบพิธีกรรมมม็วตต่อไป

 กรณีที่ 2  ต้องการเลิกการเป็นร่างทรง
        “มม็วต”  และต้องการเลิกเป็นร่างทรง  และไม่ต้องการ  “โจลมม็วต”  อีกต่อไปเพราะเบื่อหน่ายการยึดถือปฏิบัติตามกฎธรรมเนียม  การรักษาศีล  และมีข้อห้ามต่างๆ  มากมาย  รวมทั้งคิดว่าตนเองไม่สามารถปฏิบัติตามได้อีกต่อไป  เพราะหากกระทำการบกพร่องจะทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองและญาติพี่น้อง  ซึ่งเรียกว่า  “ของแตก”  ดังนั้นเพื่อป้องกันจึงต้องทำพิธีกรรมในการยกเลิกการเป็นร่างทรงโดยทำพิธีเซ่นสรวงวิธีการคือ  ต้องหาครูมม็วตที่เก่งกว่ามาทำพิธียกเลิกเรียกว่า  “ปิดตัว”  (กเบิตคลูน)  พิธีกรรมนี้จะเป็นการบอกกล่าวเพื่อขอขมาลาโทษที่ไม่สามารถสืบต่อได้  ดังนั้นเครื่องบูชาที่อยู่บนหิ้งหากเก็บไว้อาจทำให้ลูกหลานได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยากเพราะไม่สามารถเคารพปฏิบัติดูแลรักษาได้  จึงขอนำไปลอยในแม่น้ำเพื่อให้กระแสน้ำพาออกไปไม่มารบกวนอีกและถือว่ากระแสน้ำที่มีความเย็นสบายจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข  โดยเฉพาะกระแสน้ำจะพัดพาเอาความทุกข์ความโศกโรคภัยไข้เจ็บไปกับสายน้ำและไม่หวนกลับคืนมาอีก  เป็นอันเสร็จพิธี

 ประโยชน์การทำพิธีโจลมม็วต
          พิธีกรรมโจลมม็วตเป็นการกระทำเพื่อความสบายใจโดยการหาสาเหตุความเจ็บป่วยที่ทำตามประเพณีสืบทอดมา  เพราะความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น  เมื่อได้แสวงหาวิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ  มากมายหลายทางแล้วยังไม่หาย  ก็ต้องทำตามวิธีโบราณ  ถ้าไม่ทำตามหากผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตาย  ก็จะถูกญาติพี่น้องกล่าวหาว่าละเลยไม่ปฏิบัติตามเป็นคนเนรคุณ  หรือไม่ใส่ใจในความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว  ดังนั้นการจัดพิธีกรรมทั้งการโบล  การโจลมม็วตด้วยวิธีการการบ็องบ็อดหรือการโจลมม็วตเพื่อการไหว้ครูมม็วตจึงเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในด้านความเชื่อและเป็นผลทางด้านจิตวิทยา  มีประโยชน์คือทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจจากพี่น้องเพื่อนฝูงที่มาอยู่ร่วมพิธีให้กำลังใจทำให้อาการป่วยดีขึ้น


อ้างอิง
http://comedu5.myreadyweb.com

ผู้จัดทำ
1.นางสาว แนน พันธ์ขะวงษ์ เลขที่18
2.นางสาว อรทัย รัตนวัน เลขที่27

2 ความคิดเห็น:

  1. Lucky Club Casino Site Review 2021
    Lucky Club Casino. Established and luckyclub operated by Casino.co.uk, Lucky Club operates under the same gaming license. This casino is owned by UKGC,

    ตอบลบ
  2. A Vegas Review: How To Claim Your $10,000 Bonus
    Is 경상남도 출장샵 that casino legal and secure? The answer lies with a 동두천 출장마사지 no deposit bonus that is a no deposit bonus that 정읍 출장안마 is an essential part 동해 출장안마 of the real money games 세종특별자치 출장안마

    ตอบลบ