วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประเพณีโจลมะม๊วด

ประเพณีโจลมะม๊วด

    ประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมเข้าทรง  (โจลมม็วต)
             
             จากความเชื่อเรื่องผีของชาวสุรินทร์ที่มีมากมายหลายประเภท  ที่มีทั้งผีดีและผีร้าย  เช่น  ผีฟ้า  (เทพหรือเทวดา)  ผีเมือง  (หลักเมือง)  ผีบรรพบุรุษ(ผีปู่ตา)  ผีเจ้าที่เจ้าทาง(พระภูมิ)  ผีในสิ่งของและสัตว์  รวมทั้งผีที่อาศัยอยู่ในร่างคนที่เรียกว่าผีปอบ  (ทโม็ป)  ทำให้คนได้รับผลกระทบจากผีทำร้ายในหลายลักษณะ  ได้แก่ความเจ็บป่วยเรียกว่า  (คมอจเทอ)  ผีเข้า  (คมอจโจล)  หรือผิดผี(ค็อฮคมอจ)  ซึ่งถ้าถูกผีทำให้เจ็บป่วยต้องทำพิธีเซ่นไหว้เรียกว่า  “แซนคมอจ”  โดยใช้อาจารย์เจ้าพิธีกรรมเป็นผู้ช่วยเหลือดำเนินการ  ถ้าผีสิงในร่างก็ต้องใช้อาจารย์ที่มีเวทมนตร์คาถามาขับไล่ผีที่เรียกว่า  “หมอผี”  เป็นต้น  แต่สำหรับพิธีกรรมโจลมม็วตของชาวคแมร  (เขมร)  สุรินทร์  จะไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำเหล่านี้  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพิธีโจลมม็วตคือเรื่องครูกำเนิด  (กรูกำเนิต)  และการรักษาความเจ็บป่วยด้วยพิธีกรรมที่เรียกว่า  “ร่างทรง”  หรือ  “มม็วต”

 ความหมายของมม็วต
                ความหมายของคำว่า  “มม็วต”  มีผู้แปลว่า  “แม่มด”  คือร่างทรงที่เป็นบุคคลที่สามารถอัญเชิญผีฟ้าหรือเทวดารวมทั้งครูกำเนิดที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองรักษาตนเอง  ได้มาเข้าทรงเพื่อเป็นการเลี้ยงอาหารสักการะบูชาครูและซักถามความต้องการที่จะให้ประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องต่อไป  การจัดพิธีกรรม  “โจลมม็วต”  จะจัดปีละ  1  ครั้ง  ในขณะเดียวกันการเป็นร่างทรงของศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวที่ทำให้ร่างทรงมีความศักดิ์สิทธ์ที่จะใช้อำนาจนั้นรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ด้วย  ส่วนใหญ่ผู้ที่ป็นร่างทรงเหล่านี้จะเคยมีอาการไม่เหมือนคนปกติทั่วไป  เช่น  เจ็บป่วยเรื้อรัง  เป็นๆ  หายๆ  รักษาพยาบาลอย่างไรก็ไม่หาย  หรือบางคนมีอาการสับสนทางจิตพูดจาไม่ปกติ  มีความสับสน  วิธีแก้ไขจึงต้องพาไปหา  “ครูโบล”  ที่จะทำหน้าที่ทำนายหาสาเหตุความผิดปกติหรืออาการป่วยไข้  ซึ่งครูโบลก็จะบอกสาเหตุว่ามีผีฟ้าหรือเทพเทวดาต้องการมาอาศัยอยู่ในร่างกายเพื่อให้เป็น  “ร่างทรง”  วิธีรักษาคือต้องทำพิธีจัดแจงเครื่องสักการะบูชาเพื่อต้อนรับอนุญาตให้ใช้ร่างกายของตนเองเป็นร่างทรงได้  และเมื่อผ่านพิธีกรรมครอบครูโดย  “กรูมม็วต”  รุ่นพี่แล้ว  บุคคลนั้นก็จะเป็น “ร่างทรง”  ผลที่ตามมาคือบุคคลนั้นหายจากการป่วยไข้ในที่สุด และบุคคลนี้ก็จะเป็นคนในครอบครัว  “มม็วต”  สำหรับความหมายของคำว่า  “มม็วต”  หากใช้คำแปลว่า  “แม่มด”  ไม่ทราบจะอธิบายที่มารากศัพท์อย่างไร  ร่างทรง  “มม็วต”  ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง  เพราะผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในการสืบสายบรรพบุรุษ  ดังนั้นคำศัพท์ของคำว่า  “มม็วต”  น่าจะมาจากคำสองคำคือ  “มี”  ซึ่งแปลว่า  “แม่”  ที่มักใช้กับสิ่งของที่ใช่ร่วมกันและมีความสำคัญยิ่งใหญ่  เช่น  แม่น้ำ  แม่ทัพ  เป็นต้น  ส่วนคำว่า  “เมื้อต”  แปลว่า  “ปาก”  รวมคำว่า  “มีเมื้อต”  หมายถึงผู้หญิงที่ใช้ปากท่องคาถามีมนตร์พิเศษในการทำนายปัดเป่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้  ต่อมาจึงเพี้ยนคำเป็น  “มม็วต”

พิธีกรรมของร่างทรง
                สำหรับพิธีกรรมโจลมม็วตของร่างทรงจะทำหน้าที่พิธีกรรม  2  ประเภท  คือ การเข้าทรงเพื่อทำนายและรักษาความเจ็บป่วยเรียกว่า  “บ็องบ้อด”  และทำพิธีไหว้ครู  “มม็วต”  ประจำปี
                 โจลมม็วตแบบบ็องบ็อด  คือร่างทรงจะเชิญเทพเทวดาอารักษ์มาเข้าร่างทรงนี้  โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำนายและเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่คนทั่วไป  ซึ่งร่างทรงแต่ละคนจะประกอบพิธีกรรมในหมู่บ้านของตนเองแต่ละแห่งจะกระจัดกระจายตามที่อยู่อาศัย  เพื่อทำพิธีช่วยเหลือชาวบ้านที่เข้ามาพึ่งพาตามความเชื่อในท้องถิ่น  ดังนั้นพิธี  “บ็องบ็อด”  จึงเป็นการอัญเชิญเทพหรือเทวดา  (ตีวดา)  ที่มีฤทธิ์เดชให้เข้ามาอยู่ในร่างทรงเพื่อช่วยรักษาคนป่วยที่เกิดจากถูกผีร้ายกระทำ  คนที่เป็นร่างทรง    “บ็องบ็อด”  นี้จะรักษาความสะอาด  เกลียดคนดื่มสุรา  เมื่อร่างกายจะทำพิธี  “บ็องบ็อด”  ก็จะเลือกดนตรีแล้วแต่ว่าเทพองค์ใดจะโปรดดนตรีชนิดใด  เช่น  ดนตรีกันตรึม
                 พิธีไหว้ครูมม็วต    คือวันโจลมม็วตรวมโดย  “มม็วต”  ครูใหญ่จะเป็นผู้กำหนดวันเพื่อให้  “มม็วต”  ทั้งหลายโดยเฉพาะลูกศิษย์ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ  ที่ทำหน้าที่ทำนายด้วยการเข้าทรงและรักษาความเจ็บป่วยให้แก่ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านนั้น  ต้องเดินทางมาชุมนุมกันทำพิธีบูชา  “เลี้ยงครูมม็วต”  ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา “มม็วต”  ให้จึงเปรียบได้เท่ากับ “พระอุปัชฌาย์”  ดังนั้นชาว “มม็วต”  ทั้งหลายต้องเข้าร่วมกันทำพิธีไหว้ครู  “มม็วต”  ทุกปี  เรียกว่า  “โจลมม็วต”  ดังนั้นพิธีกรรมจะมีการแบ่งผู้เข้าทรงเป็นหลายระดับคือเป็นครูมม็วตและบริวารมม็วตซึ่งมม็วตที่เป็นใหญ่ที่สุดเรียกว่า  “กรูมม็วต”  จะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการเป็นร่างทรงมานาน  มีความรู้ความสามารถในการเข้าทรง  และมีความแม่นยำในการสืบสาเหตุของการเจ็บป่วยรวมทั้งสามารถถ่ายทอดวิชา  “มม็วต”  ให้แก่รุ่นน้องได้  ดังนั้นในการประกอบพิธีกรรมพวก  “มม็วต”  จะมีการแบ่งลำดับอาวุโสเพื่อการเคารพนับถือ  สำหรับคนที่เป็นมม็วตจะมีลักษณะสำคัญคือมีจิตวิทยาในการพูดที่ดี  มีอารมณ์เยือกเย็นและมีไหวพริบเป็นที่ศรัทธาของคนในหมู่บ้าน  สำหรับบริวาร  “มม็วต”  ซึ่งหมายถึง  อ่อนอาวุโสที่อยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ  ที่ต้องมาร่วมพิธีด้วย  ส่วนใหญ่จะมาไหว้ครูกำเนิด  โดยเอา  “จวมกรู”  ของตนมาทำพิธีด้วย  เพื่อเป็นศิริมงคลและความสุขความเจริญ  ในขณะเดียวกันบรรดา  “มม็วต”  ทั้งหลายจะบอกกล่าวญาติพี่น้องของตนเองและเพื่อนบ้านใกล้เคียงให้มาร่วมในพิธีกรรมนี้ด้วย  ซึ่งแต่ละคนสามารถช่วยเหลือด้านสถานที่  เช่น  จัดปะรำพิธี  จัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อช่วยเหลือเจ้าภาพในการทำอาหารเลี้ยงคนที่มาร่วมพิธีจำนวนมากมาย
 องค์ประกอบพิธีกรรมโฉลมม็วต
       สำหรับระยะเวลาการประกอบพิธีกรรมมม็วตจะนิยมกระทำในช่วงเดือน 3 ถึงเดือน 5 (เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน) ของทุกปีเพื่อทำการสักการะบูชา “ครูมม็วต” และมักเลือกวันอังคารและวันพฤหัสบดีถือว่าเป็นวันครูและไม่เล่นในวันขึ้นเเละวันแรม 15 ค่ำซึ่งเป็นวันที่ถือว่าต้องงดเว้นงานบวงสรวงกรฌีผู้ป่วยที่มีอาการหนักสามารถยกเว้นให้ทำได้ ทุกเดือนแต่เว้นวันพระและช่วงวันเข้าพรรษาเพราะถือว่าเทพเทวดาครูกำเนิดก็ต้องเข้าพรรษาจำศีลเช่นเดียวกันแต่กรณีจำเป็นมากก็สามารถทำได้แต่ต้องทำพิธีบอกกล่าวหิ้งบูชาเพื่อขอขมาด้วยในส่วนของสถานที่ประกอบพิธีแล้วแต่จะตกลงกันบางครั้งอาจเป็นบ้านของครูมม็วตหรือบริวารมม็วตคนใดคนหนึ่งโดยมม็วตคนอื่นก็จะนำเงินหรือสิ่งของมาช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งองค์ประกอบพิธีกรรม “มม็วต” ที่สำคัญคือปะรำพิธี และขันข้าวสาร

 ปะรำพิธี
       เจ้าภาพจะดำเนินการสร้างปะรำพิธีซึ่งต้องอยู่นอกบ้านเรือนการสร้างปะรำต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพียงทิศเดียวทิศอื่นห้ามเด็ดขาด โดยใช้เสา 9 ต้นมีความสูงประมาณ 2-5 เมตรและยกพื้นสูงใช้ใบไม้เช่นใบมะพร้าวมุงเป็นหลังคากันแดดกันฝนปะรำส่วนนี้ สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับวางเครื่องบูชา และเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆเช่นบายศรีครูกำเนิดช้างม้าจำลอง ข้าวปลาอาหารฯลฯการสร้างปะรำพิธีจะต้องมีครูมม็วตเป็นผู้ดำเนินการโดยมีการเซ่นไหว้บอกกล่าวขออนุญาตพระแม่ธรณีกำหนดจุดวางเครื่องประกอบพิธีกรรมและทำพิธีซึ่งอุปกรณ์บนปะรำพิธีจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ปะต็วลกระเชอข้าวเปลือกอาวุธและของอื่นๆที่สาคัญมากคือที่ประทับของปลายกรวยเรียกว่า“ปะต็วล”คือภาชนะทรงกรวยสานด้วยไม้ไผ่โดยมีปากกรวยกว้างประมาณ 8-10 นิ้ว ปลายกรวยจะทำด้วยไม้ด้ามยาวไว้สำหรับผูกติดไว้ที่เสากลางปะรำพิธีภายในปะต็วลจะประกอบด้วยกรวยดอกไม้“ขันธ์ 5” หมากพลูเครื่องเซ่นได้แก่อาหารขนมต่างๆเช่นไก่ต้มสุก 1 ตัวขนมนางเล็ดข้าวต้มมัดกล้วยฯลฯและ ขวดเล็กๆใส่น้ำปิดจุกขวด 1 ใบส่วนใต้ปะต็วลจะมีกระเชอใส่ข้าวเปลือกให้เต็มเสมอปากกระเชอบนข้าวเปลือกกรวยดอกไม้ 5 อันเทียน 2 เล่มไข่ไก่ดิบ1ฟองนอกจากนี้ยังมีอาวุธและของสดๆใส่ถาดวางใกล้กระเชอข้าวเปลือกได้แก่มีดด้ามยาวหอกปืนยาวขอช้างฯลฯนำมาใส่พานไว้ รวมทั้งรูปปั้นสัตว์ที่เป็นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า และอุปกรณ์อื่น เช่น เชือกปะกำ
สำหรับฟูกพับเป็นอุปกรณ์ให้ร่างทางนั่งเพื่อเข้าทรงหรือโจลมม็วต จะนิยมใช้ฟูก 3 ท่อน พับ 1 ท่อนให้สูงขึ้นแล้วปูผ้าขาวทับข้างบน มีอุปกรณ์สำคัญที่วางบนฟูก คือ บายศรีปากชาม ซึ่งเป็นบายศรีที่ใช้เพื่อบูชาผีหรือวิญญาณ จำนวน 2 ที่ โดยใช้จานหรือถ้วยสังกะสีเป็นภาชนะสำหรับใส่ขนม ผลไม้ เช่น ข้าวต้มมัด ขนมนางเล็ด นมฝักบัว และกล้วยสุก ฯลฯ จานบายศรีปากชามทั้ง 2 ที่นี้จะนำไปวางข้างซ้ายและข้างขวาของหัวฟูกส่วนการวางเครื่องเซ่นไหว้จะจัดสิ่งของในถาดจำนวน 2 ใบเป็นข้าวปลาอาหารเพื่อให้ผีที่เขาร่างทรงประกอบพิธีโจลมม็วตได้กินของเซ่นไหว้นั้นซึ่งจะกินโดยวิธีสูดดมเท่านั้นโดยถาดที่ 1 ประกอบด้วยข้าวสุก 1 ถ้วยไก่ดิบถอนขนแล้ว 1 ตัวขนมหวาน 2 ถ้วยน้ำ 1 ขันส่วนถาดที่ 2 ประกอบด้วยหัวหมู 1 หัวขา 4 ขาหาง 1 หาง (รวมกันสมมุติว่าเป็นหมู 1 ตัว) กรวย 5 อัน (ขันธ์ 5 ) และเทียนไข 2 เล่ม

 ขันข้าวสาร (ปเต็ล-งกอ)
       สำหรับเครื่องมือของมม็วตในการทำพิธีโจลมม็วตของชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์ที่สำคัญที่สุดคือ “ขันข้าวทรงมะม็วต” คืออุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเข้าทรงโดยใช้ขันน้ำที่นิยมใช้คือขันที่ทำด้วยสำริดหรือขันเงินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8- 10 นิ้วโดยใส่ข้าวสารให้เต็มขันและปักเทียนไว้ร่างทรงมม็วตจะเริ่มทำพิธีโดยจุดเทียนบนข้าวสารและใช้สมาธิเพ่งไปที่เทียนอัญเชิญูวิญญูาณให้เข้าร่างทรงโดยจะทำกริยาคือใช้มือทั้งสองประคองขันไว้และจะค่อยๆหมุนกลับไปมาอย่างช้าๆและจะเพิ่มความเร็วและความแรงตามลำดับเมื่อเทพเทวดาหรือครูกำเนิดเข้าร่างทรงร่างกายจะสั่นเทิ้มจากนั้นก็จะลุกขึ้นเปลี่ยนเสื้อผ้าเปลี่ยนใหม่ตามใจชอบแล้วแต่วิญญาณเทพองค์ใดมาเข้าทรงสำหรับเทพครูมม็วตจะมี 4 เทพได้แก่เทพ “กรุงไหม้” (กร็องแช็ฮ) เทพ “มหาชมพู” (มฮาจมปู) เทพ “กระบองเหล็ก” (ตบองด์) เทพ “ผมกระเซิง” (สำโปงเซาะร์ท็ม) ซึ่งเทพเจ้าที่มาเข้าทรงจะแสดงออกตามความสำคัญและบุคลิกของเทพนั้นๆเช่นถ้าเทพชอบดาบหอกมักถือดาบรำทำทีร่ายรำขับไล่ผีร้ายเป็นต้นจากนั้นก็จะยืนร่ายรำจนพอใจเมื่อวิญญูาณต้องการจะออกจากร่างทรงๆนั้นก็จะนิ่งลงแล้วหันขันข้าวสารอีกจากนั้นจะแสดงฤทธิ์เดชโดยหยิบเทียนในขันที่มีไฟลุกโชนนั้นเข้าไปในปาก อาจอมไฟหรือขบเคี้ยวไฟให้ดับโดยไม่แสดงอาการร้อนจากเปลวเทียนหลังจากนั้นก็จะหยุดนิ่งให้ความเหนื่อยนั้นค่อยๆสงบลงเพื่อให้วิญญาณออกจากร่างทรงเป็นอันเสร็จพิธีโจลมม็มวตสำหรับดนตรีในพิธีกรรมการโจลมม็วตจะนิยมใช้วงปีพาทย์คแมรที่มีเครื่องดนตรีหลัก 5 ชิ้นคือระนาดเอกฆ้องวงปี่กลองทัดเเละตะโพนหรืออาจใช้วงดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นวงดนตรีพื้นเมืองที่มีจังหวะทำนองที่สนุกเร้าใจในการบรรเลงเพื่อให้“ผู้โจลมม็วต” ร่ายรำให้สนุกสนานสบายอกสบายใจโดยเจ้าภาพต้องจัดแต่งเครื่องบูชาไหว้ครูดนตรีด้วย




ขันข้าวสาร (ปเต็ล-งกอ)

  จวมครูกำเนิด (จวมกรูมน็วต)
       มม็วตทุกคนที่มาร่วมพิธีจะต้องนำจวมครูกำเนิดหรือจวมครูมม็วตมาด้วยซึ่ง“ จวม” เป็นที่ประทับของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าประจำตัวคนแต่ละคนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมมม็วตเพราะชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์มีความเชื่อว่าทุกคนมีครูกำเนิดที่จะคอยดูแลปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นถือว่ามีสถานภาพเป็นเสมือน“ เทวดาผู้คุมครอง” โดยสิ่งสถิตอยู่ที่ “ศีรษะ” ดังนั้นชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์จะให้ความสำคัญแก่ศีรษะมากเพราะเป็นธรรมเนียมห้ามจับศีรษะผู้อื่นห้ามหยิบของข้ามศรีษะ ห้ามเดินลอดใต้ราวตากผ้าห้ามมุดใต้บันไดห้ามอยู่ใต้ถุนบ้านห้ามยกผ้าถุงขึ้นลอดบนศีรษะห้ามหยิบของข้ามศีรษะฯลฯดังนั้นบุคคลจึงต้องทำพิธีเซ่นไหว้ครูกำเนิตและปฏิบัติตนให้เหมาะสมการคารวะครูกำเนิดสามารถดลบันดาลให้เจ้าตัวมีความสุขสบายหรือได้รับความทุกข์ความเจ็บไข้ที่มีผลต่อสุขภาพถ้าทำผิดครูเช่นนี้มีอาการปวดหัวมีอาการเครียดไม่สบายใจขาดความสุขสดชื่นเป็นต้นโดยเฉพาะบุคคลที่คลอดออกมาแล้วมีสายรุ้งพันศีรษะหรือสายรกพันลำตัวเฉวียงบ่าจะเป็นบุคคลที่มีครูกำเนิดที่มีฤทธานุภาพมากเรียกว่า“ครูสนมสังวาร” หรือบุคคลที่คลอดมามีสายสะดือบิดเป็นเกลียวเรียกเป็นภาษาคแมร (เขมร) สุรินทร์ว่า “ครูปะเจิตรมูล” ก็จะม็ครูกำเนิดที่มีฤทธานุภาพมากที่สุดดังนั้นบุคคลเหล่านี้ต้องบูชาครูกำเนิดเป็นพิเศษกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไปและหากคนเหล่านี้เรียนคาถาอาคมต่างๆจะเป็นบุคคลที่เป็น“จอมขมังเวทย์” ถ้ากระทำผิดครูก็จะกลายเป็น“คนบ้า” ไปเลย (มงกุฎแก่นเดียว, 2533 หน้า 5)
        ชาวคแมร (เขมร) สุรินทร์ทุกคนจึงมีครูกำเนิคที่มีฤทธานุภาพหรือความแรงความขลังมากน้อยต่างกันและต้องทำสัญลักษณ์สำหรับบูชาครูเรียกว่า“จวมบูน” ซึ่ง “จวม” น่าจะตรงกับภาษิตไทยว่า“จอม”หมายถึง“เป็นใหญู่” หรือ “ใหญ่ที่สุด” ดังนั้น “จวมบูน” จึงเป็นสิ่งสักการะบูชาครูกำเนิดซึ่งทุกคนจะต้องทำไว้และตั้งไว้ที่หิ้งบูชาบนหัวนอนสำหรับกราบไหว้บูชาสำหรับวิธีทำ “จวม” นี้จะใช้กะลามะพร้าวขันน้ำหรือจานใส่ข้าวสาร หรือขี้เถ้าแล้วนำใบตาลแห้งมาตัดเป็นรูปใบไม้ทรงสูง ฉลุให้เป็นลวดลายสวยงามมาใส่รอบ ๆ กะลาหรือขันวางรอบสี่ทิศตรงกลางจะใส่ใบพลู หมากสุก 1 ลูก เทียนไข 1 เล่ม สตางค์ 1 บาท และดอกไม้มีด้ายสายสิญจน์พันรอบ ๆ จอมบูนที่มีลักษณะแตกต่างออกไปเรียกว่า “จวมกรูมม็วต” ได้แก่ จวมบูนที่มีทรงแบบสถูปแสดงว่าบุคคลนั้นมีครูพิเศษคือเทวดามาขออยู่ด้วย จวมบูนบางอันมีลักษณะพิเศษยิ่งกว่านั้น คือนอกจากนั้นมีครูพิเศษคือเทวดามาขออยู่ด้วย จวมบูนบางอันมีลักษณะพิเศษยิ่งกว่านั้น คือนอกจากจะเป็นจวมบูนทรงสถูปแล้วก็จะมีฉัตรสีแดงปักไว้เหนือสถูป แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีครูกำเนิดสวมสังวาลย์คือรกพันศรีษะหรือพันลำตัวหรือสายสะดือบิดเป็นเกลียวเมื่อแรกคลอดถือว่า “มีครูกำเนิดแรงมาก” ต้องทำพิธีเคารพครูเป็นพิเศษ ดังนั้น การใช้สัญลักษณ์ทรงสถูปน่าจะเป็นการเลียนแบบของปราสาทหินโบราณที่มีกระจัดกระจายอยู่ในท้องถิ่นโดยเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าสูงสุด วัตถุทรงสถูปจึงเป็นเครื่องหมายของการเคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง
“จวมกรูมม็วต” จึงมีความสำคัญูเกี่ยวข้องกับการโจลมม็วตมากที่สุดเพราะบุคคลที่มาเข้าพิธีคือบุคคลที่มี “ครูกำเนิดแรง” ต้องมาทำพิธีไหว้ครูโดยต้องนำ “จวมกรูมม็วต” จากบ้านมาด้วยและมีอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่นกรวย 5 อัน (ขันธ์ 5) หมากพลู 1 คำเงิน 1 บาทเทียน 2 เล่มซึ่งเทียนจะมีหลายลักษณะเช่นเทียนไขธรรมดาเทียนขีผึ้งเทียนบิดเป็นเกลียวเทียนทรงกลมฯลฯแล้วแต่บุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องกับครูกำเนิดแบบใครเช่นกรณีตอนเกิดมีสายสะดือบิดเป็นเกลียวก็ใช้เทียนบิดเป็นเกลียวเป็นต้นทั้งนี้จะนำอะไรมาบ้างหรือเพิ่มเติมมากน้อยเพียงใดครูมม็วตหรือร่างทรงจะเป็นผู้บอกเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีและเชื่อว่าครูมม็วตสามารถทีจะสื่อสารกับครูกำเนิดโดยตรงได้เช่นบุคคลที่มีครูสนมสังวารจะต้องใช้เทียน 3 เล่มและน้ำฉัตรเล็กๆสีแดงมาด้วยดังนั้นผู้ที่จะทำการโจลมม็วตจะต้องนำ “จวมกรู” ของแต่ละคนมาด้วยหรือหากผู้ใดไม่ต้องการเข้าทรงก็นำ “จวมกรู” ของตนมาเข้าพิธีด้วยก็ได้เพื่อให้ผู้เข้าทรงช่วยตรวจสอบชื่นชมตรวจตราความถูกต้องของเครื่องบูชาถ้าผู้เข้าทรงร่ายรำมาดู “จวมกรู”และตำหนิติเตียนว่าสกปรกไม่เข้าใจใส่เจ้าของหรือญูาติพี่น้องก็จะยกมือไหว้ขอขมาและสัญญาว่าจะจัดทำให้ใหม่ขอเชิญครูกำเนิดร่ายรำให้สนุกสนานไปก่อนและขอให้ครูกำเนิดมีความสุขมากๆเพื่อจะให้ร่างของบุคคลนั้นไมป่วยไม่ไข้



   
จวมครูกำเนิด (จวมกรูมม็วต)

  การประกอบพิธีกรรมไหว้ครูมม็วต

       สำหรับขึ้นตอนเวลาประกอบพิธีกรรมโจลมม็วตจะเริ่มตั้งแต่เช้าเวลาประมาณ 07.30 นหรือ 10.00 น.เป็นอย่างช้าส่วนเวลาสิ้นสุดไม่มีการกำหนดแล้วแต่ผีจะเข้าร่างทรงได้ทั้งหมดเวลาใด และจะออกจากร่างทรงเวลาใครอาจจะเสร็จช่วงบ่ายหรือเที่ยงคืนหรือทั้งคืนก็ได้เมื่อเริ่มพิธีกรรมดนตรีเริ่มบรรเลงเพลงไหว้ครู “ครูมม็วตใหญู่” ก็จะทำพิธีเข้าทรงเมื่อครูกำเนิดเข้าทรงแล้วครูมม็วตก็จะถือดาบเดินไปบริเวณตั้ง “เป” ซึ่งเป็นเครื่องเซ่นผีไม่มีญาติหรือผีพรายผีร้ายที่ให้โทษต่างๆโดยร่ายรำเวียนขวา 3 รับเจ้าภาพจะใช้ไฟจุดนุ่นหรือเศษผ้าจนลุกไหม้จากนั้นครูมม็วตกจะใช้ดาบฟันเปเรียกว่า “กาบเป” ซึ่ง “กาบ” แปลว่า “ฟัน” จากนั้น “ครูมม็วต” ก็จะเดินกลับมายังปะรำพิธีเจ้าภาพก็จะนำสิ่งของที่มีอยู่ในเปทิ้งออกไปให้ไกลปะรำพิธีที่แสดงว่าสิ่งชั่วร้ายได้ถูกทำลายแล้ววิธีการก็จะไม่มีอุปสรรค ใดๆเป็นการแสดงว่าได้ไล่ฟันเปรตหรือเสนียดจัญไรทั้งปวงที่จะมาทำลายพิธีโจลมม็วตเรียบร้อยแล้ว
สำหรับจุดมุ่งหมายการทำพิธีโจลมม็วตนั้น นอกจากจะเป็นการทำพิธีเซ่นไหว้ยังครูมม็วตแล้วยังเพื่อเป็นพิธีกรรมรักษาคนป่วยด้วยซึ่งอาจทำใน 2 ลักษณะคือให้ผู้อื่นเข้าทรงให้หรือผู้ป่วยเขาทรงเองกรฌีผู้ป่วยมีอาการไม่มากนักก็นึกจะเข้าทรงด้วยตนเองส่วนผู้ป่วยหนักไม่สามารถทำพิธีเป็นร่างทรงได้ก็จะใช้ร่างทรงอื่นทำพิธีให้ในกรณีผู้ป่วยมีอาการไม่มากผู้ป่วยจะเข้าทรงหรือ “โจลมม็วต” ด้วยตนเองโตยวิญญูาณจะเข้าทรงในร่างผู้ป่วยมีการร่ายรำเหมือนกับออกกำลังกายและจะบอกสาเหตุการเจ็บป่วยตลอดจนคำแนะนำในการแก้ปัญูหายามเจ็บป่วยกับญูาติพี่น้องให้ทราบเพื่อไปประกอบพิธีกรรมหลังจากวิญญาณออกจากร่างทรงของผีป่วยแล้วเช่นการทำครูก็ให้ใปขอขมาหิ้งบูชาหรือทำ “จวมครู”ขึ้นมาใหม่หรือแนะให้ทำบุญกุศลด้วยพิธีกรรมต่างๆเป็นต้นกรณีผู้ป่วยมีอาการป่วยหนักหรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้าร่างทรงก็จะมีผู้ที่ทำการโจลมม็วตแทนโดยผู้เป็นร่างทรงจะทำการร่ายรำและเข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วยเช่นเข้าไปบีบนวดตามร่างกายยกแขนยกเท้าผู้ป่วยให้ขยับเขยื้อนปัดเป่าตามร่างกายใช้น้ำมนต์หรือประแป้งน้ำหอมให้ผู้ป่วยจากนั้นก็จะมีการนำด้ายมาผูกข้อมือผู้ป่วยเพื่อเรียกขวัญภาษาท้องถิ่นเขมรเรียกว่า “เฮาปลึง” คำแปล “เฮา” แปลว่า “เรียก” ส่วน “ปลึง” แปลว่า“ขวัญู” ซึ่งพิธีกรรมนี้เป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวดังเดิมเมื่อทำพิธีเรียกขวัญเสร็จก็จะรับ “ขวัญู” ผู้ป่วยด้วยการให้กินข้าวขวัญหรีอที่เรียกว่า “บายปลึง” ได้แก่ข้าวสวยกับไข่ไก่ต้มน้ำตาลอ้อยน้ำมะพร้าวอ่อนและเนื้อมะพร้าวอ่อนซึ่งวิธีการที่มีผลทางด้านจิตวิทยาถือเป็นการสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยเกิดความอบอุ่นใจที่มีญูาติมิตรรักใคร่หวงใยและเอื้ออาทรทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจมีสุขภาพจิตดีอาการเจ็บป่วยก็จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจอย่างดียิ่ง



การเข้าทรงของครูมม็วต



ครูมม็วตกำลังเลือกเครื่องแต่งกายตามความชอบ


การเข้าทรงของเจ้าทรง




การแสดงท่ารำต่างๆ ของเจ้าทรง

 คณะดนตรี
                จำนวนคนเล่นดนตรี  5-6  คน  เครื่องดนตรีมีกลองกันตรึม  2  ใบ  และขอทำความเข้าใจดังนี้  กลองกันตรึม  เป็นภาษาคแมรเรียกว่า  สะกวร  เรียกเต็มๆ  ว่าสะกวรกันตรึม    เพราะมือตีไปที่กลองมีเสียงกระหึ่ม  ครึมๆ  หรือเสียงตรึมๆ  เป็นต้น เครื่องประกอบจังหวะมี  ฉิ่ง  1  คู่  ฉาบ  1  คู่  สำหรับคนกลองมีหน้าที่ขับร้องและคลอไปด้วย  ถ้าหากเล่นธรรมดาจะเป็นการประหยัด  วงเล็กนิยมใช้คณะดนตรีเพียง  4  คน

เครื่องเซ่นดนตรี


เครื่องดนตรีที่ใช้แสดงในงาน “โจลมม๊วต



เครื่องประกอบการเซ่นไหว้ครูดนตรี

  1.  ผ้าขาว  1  ผืน
  2. สุราขาว  1  ขวดใหญ่
  3. น้ำอัดลม  2  ขวด
  4. เงิน  21  บาท  50  สตางค์
  5. ข้าวสุก  1  จาน  และแกงหรือต้มเนื้อ  1  จาน
  6. ไก่ต้มทั้งตัว  1  ตัว
  7. ธูปและเทียนอย่างล่ะ  2  คู่
  8. กรวย  5  ดอก
  9. หมากพลู  5  คำ  บุหรี่  5  มวน
  10. ข้าวสาร 2  ถ้วย  ใบพลูสด  2  ใบ  ผลหมากสุก  หรือหมากแห้ง  2  ผล  เหรียญสตางค์
แดง  2  อัน  ปัจจุบันใช่เหรียญสลึง  2  อันแทน
  1. ขันน้ำแก้วน้ำอย่างละ  2  ใบ
  2. พาน  ถาด  จาน  อย่างละใบ
  3. เสื่อขนาดใหญ่  1  ผืน
  4. ไม่ขีดไฟ
  5. แป้งหอม  น้ำอบ  น้ำหอม  พอสมควร 

การฟ้อนรำของมม็วตและดนตรี
การฟ้อนรำ

                สำหรับท่าฟ้อนรำนั้นเป็นการฟ้อนรำที่ไม่มีรูปแบบ  โดยการฟ้อนรำตามทำนองเพลงและดนตรีที่บรรเลงมม็วตแต่ละคนต่างก็ร่ายรำไม่เหมือนกัน  โดยมีความเชื่อทางไสยศาสตร์เพื่ออันเชิญวิญญาณมาช่วยปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ  เป็นกรรมวิธีหนึ่งของการบวงสรวงพลีกรรมเพื่อเคารพต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ  กล่าวคือนอกจากจะเพื่อช่วยให้รักษาความเจ็บป่วยแล้วยังเป็นการขอให้ดลบันดาลเพื่อให้เกิดความสุขในครอบครัว  โดยเฉพาะเมื่อวิญญาณได้เข้าทรงร่างกายและได้ร่ายรำที่มีความสนุกสนานรื่นเริงเป็นที่พอใจและก็จะดลบันดาลช่วยเหลือร่างทรงให้หายเจ็บป่วยได้  ซึ่งบางครั้งร่างทรงนั้นไม่เคยร่ายรำหรือรำไม่เป็นแต่เมื่อเข้าไปในพิธีจะถูกวิญญาณเข้าร่างทรงก็สามารถร่ายรำสวยงามตามจังหวะโดยไม่รู้ตัวเป็นที่แปลกใจหรืออัศจรรย์ใจสำหรับคนที่มาร่วมพิธีอย่างมาก  ดังนั้นการร่ายรำที่แสดงท่าทางต่างๆ  จึงเป็นความเชื่อว่าวิญญาณจะเป็นผู้กำหนดและร่ายรำตามความชอบและความถนัดของวิญญาณนั้นๆ  การร่ายรำของร่างทรงจะดำเนินไปจนกว่าจะพอใจและหยุดร่ายรำ  จากนั้นก็จำไปนั่งที่  “ขันทรง” และทำพิธีกรรมเพื่อให้ร่างทรงออกจากร่างไปจึงเป็นการเสร็จพิธี

ท่ารำ
                ท่ารำในการประกอบพิธีกรรมที่นำมาพัฒนาเป็นท่ารำ  ประกอบด้วย
1. หมุนขัน  นำมาจากพิธีกรรมที่แม่ครูและลูกศิษย์จะนำขันข้าวสารเล็กน้อย  หมากพลูและจุดเทียน  เล่ม  ติดที่ขัน  วางไว้ตรงหน้าใช้มือทั้ง  2  มือ  หมุนขันช้าๆ  สักครู่จะเปลี่ยนไปทางซ้ายวนอยู่ตรงหน้าไปเรื่อยๆ จากช้าไปเร็วและมีความรุนแรงจนข้าวสารในขันกระจัดกระจายออกจากขัน  ตัวสั่น  ศรีษะสั่น  อาการเช่นนี้แสดงว่ามีการประทับทรงแล้ว
2. ท่าไหว้  นำมาจากพิธีกรรมตอนที่  ทุกคนจะรำไปรอบๆ  ประมาณ  5  นาทีนั่งพนมมือ  และมีอาการเหมือนตอนที่ครูกำเนิดจะเข้า  เช่น  ชูมือพนมเหนือศรีษะวนรอบเป็นวงตรงหน้าจากบนล่างไปซ้ายขวา  ตัวสั่น
3.ท่าปรบมือ  พิธีกรรมตอนที่แม่หมอเริ่มตัวสั่น  คนอยู่รอบๆ จะช่วยกันปรบมือให้จังหวะเป็นการลุ้นให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้น
4.ท่าจีบม้วนมือ  พิธีกรรมตอนที่ครุออกจากร่างทรงนั้นจะสังเกตได้จากผู้นั้นจะเอามือลูบหน้า  ลืมตามีสติกลับคืนมา  เป็นตัวของตัวเองอีกครั้ง
5.ท่าจีบที่อกแล้ววาดออก  พิธีกรรมตอนที่ผีประทับทรงแล้วเริ่มมีการฟ้อนรำ

ดนตรี
                ทำนองเพลงที่ใช้กำกับในพิธีกรรมโจลมม็วต  ซึ่งมีการใช้ดนตรีกันตรึมคแมรกำกับพิธีนั้น  จะใช้ทำนองหลายเพลงเช่น  เมื่อเริ่มพิธีกรรม  ดนตรีจะใช้เพลง “สาธุการ”  การไหว้ครูเพลงแรกเพื่อบรรเลงถวายครูดนตรี  และความเป็นศิริมงคล จากนั้นดนตรีจะบรรเลงเพลงแห่  ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้กับกริยาอาการแห่แหน  เช่น  แห่เครื่องเซ่นสรวงบูชาหรือจวมครูที่มม็วตแต่ละคนนำมา  เป็นต้น  จากนั้นดนตรีก็จะบรรเลงเพลงต่างๆ  เพื่อให้ร่างทรงรำจนพอใจ  และเมื่อสิ้นสุดพิธีกรรมก็จะบรรเลงเพลงลา  โดยร่างทรงจะนำเครื่องเซ่นบูชาแห่แหนรอบปะรำพิธี  และลาครูบาอาจารย์และอำลาโรงเป็นการเสร็จพิธีกรรม  “โจลมม็วต”  สำหรับสถานที่ประกอบพิธีกรรมต้องทิ้งไว้  3  วัน  จึงรื้อถอนได้ 


การเริ่มเล่นดนตรี


การสืบทอดพิธีกรรมโจลมม็วต

  การสืบทอดพิธีกรรมโจลมม็วต
                ร่างทรงทำหน้าที่เป็น  “มม็วต”  จะเลิกเป็นร่างทรงตลอดไปได้  2   กรณี  ได้แก่

กรณีที่ 1   การเสียชีวิตและการไม่ต้องการเป็นร่างทรงอีกต่อไป
       มีวิธีปฏิบัติที่สำคัญคือ  กรณีเสียชีวิตเมื่อร่างทรงเสียชีวิตญาติพี่น้องจะนำศพไปประกอบพิธีศพตามปกติ  แต่สิ่งที่ยังคงเหลืออยู่หิ้งบูชาที่มีอุปกรณ์เครื่องของขลังต่างๆ  วิธีการปฏิบัติต้องมีลูกหลานหรือญาติพี่น้องรับช่วงต่อ  โดยวิญญาณนั้นจะเลือกลูกหลานหรือญาติพี่น้องคนใดคนหนึ่งเพื่อเป็นทายาทสืบแทน  ซึ่งสามารถจะรู้ได้จากการที่บุคคลนั้นจะมีอาการเจ็บป่วย  หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้น  จากนั้นญาติพี่น้องก็จะไป“คนโบล”  เพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย  “คนโบล”  ก็จะบอกสาเหตุว่ามีวิญญาณอยากจะมาขออยู่ในร่างกายต้องทำ  “พิธีรับ”  จึงจะหายป่วย  ซึ่งผู้ป่วยนั้นจะต้องทำ  “พิธีรับ” และอัญเชิญมาอยู่โดยการจัดหิ้งบูชาและทำพิธี  “โจลมม็วต” เพื่อแสดงความยินดีต้อนรับญาติก็จะนำสิ่งของศักดิ์สิทธิ์จากหิ้งบูชาจากมม็วตคนเดิมมามอบให้  เพื่อเป็นผู้สืบทอดในการประกอบพิธีกรรมมม็วตต่อไป

 กรณีที่ 2  ต้องการเลิกการเป็นร่างทรง
        “มม็วต”  และต้องการเลิกเป็นร่างทรง  และไม่ต้องการ  “โจลมม็วต”  อีกต่อไปเพราะเบื่อหน่ายการยึดถือปฏิบัติตามกฎธรรมเนียม  การรักษาศีล  และมีข้อห้ามต่างๆ  มากมาย  รวมทั้งคิดว่าตนเองไม่สามารถปฏิบัติตามได้อีกต่อไป  เพราะหากกระทำการบกพร่องจะทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองและญาติพี่น้อง  ซึ่งเรียกว่า  “ของแตก”  ดังนั้นเพื่อป้องกันจึงต้องทำพิธีกรรมในการยกเลิกการเป็นร่างทรงโดยทำพิธีเซ่นสรวงวิธีการคือ  ต้องหาครูมม็วตที่เก่งกว่ามาทำพิธียกเลิกเรียกว่า  “ปิดตัว”  (กเบิตคลูน)  พิธีกรรมนี้จะเป็นการบอกกล่าวเพื่อขอขมาลาโทษที่ไม่สามารถสืบต่อได้  ดังนั้นเครื่องบูชาที่อยู่บนหิ้งหากเก็บไว้อาจทำให้ลูกหลานได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยากเพราะไม่สามารถเคารพปฏิบัติดูแลรักษาได้  จึงขอนำไปลอยในแม่น้ำเพื่อให้กระแสน้ำพาออกไปไม่มารบกวนอีกและถือว่ากระแสน้ำที่มีความเย็นสบายจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข  โดยเฉพาะกระแสน้ำจะพัดพาเอาความทุกข์ความโศกโรคภัยไข้เจ็บไปกับสายน้ำและไม่หวนกลับคืนมาอีก  เป็นอันเสร็จพิธี

 ประโยชน์การทำพิธีโจลมม็วต
          พิธีกรรมโจลมม็วตเป็นการกระทำเพื่อความสบายใจโดยการหาสาเหตุความเจ็บป่วยที่ทำตามประเพณีสืบทอดมา  เพราะความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น  เมื่อได้แสวงหาวิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ  มากมายหลายทางแล้วยังไม่หาย  ก็ต้องทำตามวิธีโบราณ  ถ้าไม่ทำตามหากผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตาย  ก็จะถูกญาติพี่น้องกล่าวหาว่าละเลยไม่ปฏิบัติตามเป็นคนเนรคุณ  หรือไม่ใส่ใจในความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว  ดังนั้นการจัดพิธีกรรมทั้งการโบล  การโจลมม็วตด้วยวิธีการการบ็องบ็อดหรือการโจลมม็วตเพื่อการไหว้ครูมม็วตจึงเป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในด้านความเชื่อและเป็นผลทางด้านจิตวิทยา  มีประโยชน์คือทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจจากพี่น้องเพื่อนฝูงที่มาอยู่ร่วมพิธีให้กำลังใจทำให้อาการป่วยดีขึ้น


อ้างอิง
http://comedu5.myreadyweb.com

ผู้จัดทำ
1.นางสาว แนน พันธ์ขะวงษ์ เลขที่18
2.นางสาว อรทัย รัตนวัน เลขที่27